ประวัติท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช

ประวัติและเรื่องราวที่มากด้วยพุทธคุณปราบเสือร้ายของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง...

ประวัติหลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ

พระครูพิพิธธรรมาธร(หวั่น กุสลจิตฺโต) โสภณ บุญสุข วัดคลองคูณ ตำบล คลองคูณ อำเภอ ตะพานหิน จังหวัด พิจิตร...

ประวัติหลวงปู่ฮก

หลวงปู่ฮก รติน۪ธโร พระผู้เคร่งครัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเป็นสหธรรมมิกของหลวงปู่โทน กน۪ตสีโล

ประวัติหลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร

หลวงพ่อฟู อติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ศิษยานุศิษย์ต่างขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำบางปะกง”

ประวัติหลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่

"พระครูสุภัททาจารคุณ" หรือที่ชาวบ้านมักเรียกขานว่า "หลวงพ่อสิน ภัททาจาโร" ด้วยเป็นนามที่คุ้นเคยต่อการเรียกขานของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์

23/5/60

"ชีวประวัติของหลวงปู่ศุข"


"ชีวประวัติของหลวงปู่ศุข"

(ภูมิลำเนา - ชีวิตก่อนบวช ) หลวงปู่ศุข ท่านอยู่ในละแวก วัดมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันยังมี ลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี หลวงปู่ศุข ท่านใช้นามสกุล เกศเวชสุริยา อีกสกุลหนึ่ง ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน ด้วยกัน เมื่อหลวงปู่ศุข อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆน้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำ ที่สำคัญ และกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้ เพราะขาดการทนุบำรุงที่ควร หลวงปู่ศุข ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้ภรรยาชื่อนางสมบูรณ์ และกำเนิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

บวช

หลวงปู่ศุข ท่านครองเพศฆาราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ 22 ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน หรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี พระอุปฌาย์ท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ฝ่ายรามัญ ที่ถือเคร่งในวัตรปฎิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคม ก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ศุข ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปฌาย์ของท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

ผีสมภารวัดร้าง

"ผีสมภารวัดร้าง" ซึ่งนายยอด สุขทอง ลูกศิษย์คนหนึ่งของท่านรับฟังมาและนำมาเล่าต่อ ดังมีรายละเอียดดังนี้

ครั้งนั้นหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จาริกธุดงค์ ไปนมัสการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี เมื่อท่านได้ถวายอภิวาทต่อรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความปิติอิ่มใจแล้วจึงได้เดินธุดงค์กลับวัดปากคลองมะขามเฒ่าของท่าน ระหว่างเดินทางกลับท่านได้จากริมาพบวัดร้างแห่งหนึ่งในเวลาเย็นย่ำสนธยา ซึ่งถึงกาลอันสมควรหาสถานที่เหมาะสมเพื่อปักกลด หลวงปู่ศุข พิจารณาวัดร้างแห่งนี้เห็นว่าพอจะอาศัย เป็นสถานที่พักผ่อนในราตรีกาลที่จะมาถึงได้ ท่านจึงแบกกลดเข้าไปในเขตธรณีสงฆ์แห่งนั้น

บริเวณทั่วไปของวัดร้างสงัดเงียบ มีโบสถ์ ศาลาการเปรียญและกุฎิ พระครบสมบูรณ์ เพียงแต่ปราศจากพระเณรจำพรรษาคอยดูและรักษาทำนุบำรุง เสนาสนะต่างๆ ดังนั้นศาสนสถานโดยทั่วไปจึงชำรุดทรุดโทรมผุพังเป็นที่น่าสังเวช หลวงปู่ศุขรู้สึกแปลกใจระคนสงสัยทีวัดนี้ ไม่ควรจะปล่อยร้างวังเวงดังที่เห็น เพราะสังเกตดูที่ตั้งขอวัดก็อยู่ในพื้นภูมิทำเลที่เหมาะสม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านชุมชนเท่าไหรนัก เหตุใดจึงขาดผู้มีจิตกุศลศรัทธาอุปัฎฐากพระเณรถึงเพียงนี้ หลวงปู่เพียงแค่สงสัย แต่ไม่คิดใฝ่ใจใคร่รู้สาเหตุที่มาของวัดร้าง ท่านจึงมองหาที่พักสำหรับคืนนี้ เห็นบริเวณระเบียงด้านหน้ากุฎิหลังใหญ่ดูกว้างขวาง และเปิดโล่งโปร่งสบายก็ตรงไปยังที่น้น วางอัฐบริขารลง แล้วไปเก็บแขนงไม้มารวมกันปัดกวาดพื้นให้สะอาดพอปูอาสนะได้

ขณะที่หลวงปู่ศุข กำลังปัดกวาดอยู่นั้น มีชาวบ้านเป็นชาย 2 - 3 คน เดินมาหาท่านแล้วนังยกมือไหว้นมัสการ คนที่มีอาวุโสที่สุดถามขึ้นว่า "หลวงพ่อมาจากไหนขอรับ" พวกกระผมเห็นหลวงพ่อเดินลัดตัดทุ่งตรงมาที่นี่ จึงรีบมาพบ" "อาตมาไปนมัสการพระพุทบาทสระบุรีมา

กำลังจะกลับวัดปากคลองมะขามเฒ่า คืนนี้คงต้องพักที่วัดนี้ชั่วคราว พวกโยมเป็นคนบ้านนี้กระมัง""ใช่ขอรับ กระผมเองอยูเลยหลังวัดนี้ไปไม่เท่าไหร่ เอ้อ หลวงพ่อขอรับ ท่านพักอยู่ตรงระเบียงหน้ากุฎินี้เห็นทีจะไม่เหมาะสมกระมังครับ" "ทำไมหล่ะโยม อาตมาเห็นว่าเป็นวัดร้างไม่มีใครดูแลเป็นเจ้าของจึงไม่ได้ขออนุญาตใคร"

" ไม่ใช่เรื่องขออนุญาต หรือไม่ขออนุญาตหรอกขอรับ แต่พวกกระผมเป็นห่วงหลวงพ่อ กลัวว่าหลวงพ่อจะเจอเรื่องไม่ดีไม่งามเข้าตอนกลางค่ำกลางคืน " "เรื่องไม่ดีไม่งามที่โยมว่านั่นน่ะ มันเรื่องอะไร" ชายสูงวัยทำท่าอึกอักก่อนจะตัดสินใจไปกราบเรียน "ผีที่นี่เฮี้ยนเหลือกำลังขอรับหลวงพ่อสาเหตุที่วัดนี้กลายเป็นวัดร้าง ก็เพราะผีดุนี่แหละครับ กระผมเองเคยเป็นมัคทายกวัดนี้รู้เรื่องดีเชียวละ"แล้วอดีตมัคทายกก็เล่าเรื่องผีวัดร้างให้ปลวงปู่ศุข ฟังว่า เมื่อก่อนวัดนี้มีพระเณรจำพรรษาไม่เคยขาด ชาวบ้านร้านตลาดมาทำบุญทำทานกันตลอดเวลา

ต่อมาสมภารเจ้าวัดมรณภาพ ยังไม่ทันจะหาสมภารรูปใหม่มาปกครองดูแลวัด ผีสมภารเปิดฉากออกอาละวาดหลอกหลอนแทบทุกคืนจนพระเณรอกสั่นขวัญหาย แม้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญแผ่กุศลสักเท่าไหร่ ผีสมภารก็ไม่ยอมไปผุดไปเกิด ยังคงหลอกหลอนเหมือนเดิม กระทั่งพระเณรทนไม่ไหวพากันหนีหายย้ายไปอยู่วัดอื่นหมด เคยมีพระใหม่ใจกล้ารับอาสาจะมาช่วยบูรณะวัดฟื้นฟูวัด แต่อยู่ได้ไม่กี่วันก็หอบอัฐบริขารจากไป เพราะผีสมภารเล่นงานหลวงปู่ศุขรับฟังอดีตมัคทายกวัดเล่าเรื่อผีสมภารโดยสงบ มิได้แสดงความคิดเป็นแต่ประการใด เมื่อมัคทายกกราบเรียนแนะนำให้ท่านย้ายที่ปักกลดไปอยู่นอกเขตวัดจะดีกว่า ท่านก็เฉยเสีย บอกแต่เพียงว่าคงไม่เป็นไร เพราะท่านมาอาศัยคืนเดียวแล้วก็ไป ผีสมภารคงไม่ทำอะไร

เมื่อหลวงปู่ยืนยันเช่นนี้ ชาวบ้านก็จำต้องนมัสการกราบลากลับไป ทั้งที่ห่วงใยท่านจะทานวิญญาณร้ายของสมภารเจ้าวัดที่ตายไปไม่ไหว หลวงปู่กางกลด จัดวางบริขารและปูอาสนะเรียบร้อย เมื่อความมืดของราตรีมาเยือน วัดก็ยิ่งวังเวงหนักขึ้น หลวงปู่ไหว้พระสวดมนต์ทำวัตรเย็นตามกิจของท่านแล้วเข้ากลด เจริญสมาธิภาวนาเช่นที่เคยปฎิบัติมา โดยไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ตราบกระทั่งดึกสงัด ก็ปรากฎเสียงบานหน้าต่างของกุฎิหลังใหญ่กระแทกเปิดปิดดังสนั่น ทั้งๆ ที่ประตูหน้าต่างใส่ดาลลั่นกลอนปิดสนิท จะเป็นเพราะลมก็ไม่ใช่เพราะเวลานั้นลมสงบเงียบเชียบ หลวงปู่ศุข กำลังพักผ่อนต้องลุกขึ้นมานั่ง คอยดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปอีก

ท่านก็ไม่ต้องคอยนาน เมื่อตรงหน้ากลดนั้นร่างดำมึนดูทะมึนของสมภารวัดได้ผุดวูบขึ้นมา ให้เห็นถนัดชัดเจน พร้อมกับพูดขึ้นด้วยเสียงแหบห้าวดุจไม่พอใจ " มาทำไม?" "ผมไปรุกขมูลมา จะขออาศัยนอนที่นี่สักคืน" หลวงปู่ศุข ตอบผีสมภารนิ่งแล้วหายวับ คราวนี้เกิดเสียงดังโครมครามสนั่นหวั่นไหว ภายในกุฎิไม่ยอมหยุด ประหนึ่งต้องการขับไล่หลวงปู่ศุข ทว่าหลวงปู่มิได้หวั่นไหวต่อการแสดงฤทธิ์ของผีสมภาร ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังรู้สึกสงสารเวทนาต่อดวงวิญญาณมิจฉาทิฐิ ที่หลงวนเวียนยึดเหนี่ยวในสถานที่นี้ไม่ยอมไปผุดไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่า ทั้งๆที่บวชเรียนในพระพุทธศาสนามานานถึงขึ้นเป็นสมภารเจ้าวัด หลวงปู่ศุข สำรวมจิตแผ่เมตตาไปให้ แต่เสียงสนั่นหวั่นไหวภายในกุฎิ ก็ไม่ยอมหยุด สวดมนต์อีกหลายบท ผีสมภารก็ยังไม่รับรู้ มิหนำซ้ำ ผีสมภารยังมาปรากฎร่างยืนตระหว่างตรงหน้ากลด แผดเสียงหัวเราะเย้ยหยันแล้วคำรามลั่นบอกว่า "ไม่กลัวหรอก มีคาถาอะไรก็ว่ามาอีกซิ"

หลวงปู่ศุข เห็นผีสมภารดื้อด้านถึงเพียงนี้ ท่านจึงกล่าวออกมาดังๆว่า "อนิจจาเอ๋ยไม่เคยเห็น ผีตายหรือจะสู้กับผีเป็น นะโมพุทธายะ" ด้วยถ้อยคำประโยคนี้ ผีสมภารก็หายวับไป ไม่มีเสียงโครมครามใดๆ ตามมาอีก และหลวงปู่ศุขก็ไม่ใส่ใจสนใจอีกต่อไป เอนกายลงพักผ่อนตามปกติของท่าน

เช้าวันรุ่งขึ้นอดีตมัคทายกและชาวบ้านกลุ่มใหญ่รีบมาที่วัดแต่เช้า เห็นหลวงปู่ศุขเป็นปกติดีไม่มีอะไร ต่างปีตีดีใจเข้ามากราบไหวันมัสการสอบถาม ว่าเมื่อคืนมีเหตุการณ์ร้ายๆอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หลวงปู่ไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มๆ ทำนองมิให้ซักไซร้ให้มากความ ชาวบ้านจึงไม่กล้าละลาบละล้วงถามอีก จากนั้นก็กลับไปจัดหาภัตราหารเช้ามาถวาย

เมื่อท่านกระทำภัตกิจเรียบร้อย ชาวบ้านนิมนต์ให้ท่านพักอยู่ที่นี่ก่อน เพื่อพวกเขาจะได้มีโอกาสทำบุญสร้างกุศลกันบ้าง หลวงปู่ศุข ก็เมตตารับนิมนต์ หลวงปู่พำนักอยู่ที่กุฎิร้างของสมภารเก่า ๕ คืน ไม่กรากฎมีผีสมภารออกอาละวาดอีกเลย ท่านเห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้วจึงเก็บอัฐบริขารเพื่อเดินทางต่อไปชาวบ้านอ้อนวอนให้ท่านเป็นสมภารวัดร้างแห่งนี้ แต่หลวงปู่ไม่อาจรับศรัทธาญาติโยมข้อนี้ได้

กลับภูมิลำเนา

หลวงปู่ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าได้ชราภาพลงตามอายุขัย ด้วยความเป็นห่วงใยในมารดาและบิดา ท่านจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆที่วัดอู่ทองคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่อยู่ลึก เข้าไปในคลองมะขามเฒ่าหรือบริเวณต้นแม่น้าท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพวัดในขณะนั้น ชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณะให้กลับคืนในสภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ ขยับขยายออกมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและได้สร้างกุฎิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัย ไปพลางก่อน

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 28 และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ ที่1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์-อาจารย์เพื่อจะได้ศึกษาทางมหาพุทธาคมและปรากฎว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความ สามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงปู่ศุขเองก็หมดความรู้ที่จะถ่ายทอด จึงแนะนำให้เสด็จในกรมฯไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้น เมื่อหลวงปู่ศุขท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่จะสร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯบนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่กรมศิลปากรยกย่องว่า เสด็จในกรมหลวงชุมพร ทรงมีฝีมือทางการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธ-เจ้าชนะมารในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบิดมวยผม ทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น

พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้ กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดใส่อารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยัน อย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก ฝีมือของเสด็กในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือ ภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนในขณะที่หลวงปู่ศุข ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน ซึ่งภาพนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่ที่วัดปากคลอง มะขามเฒ่าจวบจนทุกวันนี้ ความสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์ กับ ลูกศิษย์ นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯได้สร้างกุฎิอาจารย์ ไว้กลางสระที่วัดนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิค ตอเรีย มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่า จาก ลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ศุขมาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์ หรือพิษณุโลก จำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ท่านขอพ่อแม่เขามาเลี้ยงเป็นบุตร บุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ศุข ท่านก็ เลยลงหลักปักฐานได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เลยเรียกกันติดปากว่า ลุงผล ท่าแร่ แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด 1 ปี หลวงปู่ท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะเสด็จในกรมฯท่านจะทำวิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น 3 วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ และวันที่สามไหว้ครูทางวิทยายุทธ์ พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืน กับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุ มากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยได้ลงมา

วัตถุมงคลรุ่นแรก


สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดฌาปนกิจศพ และในงานนี้เองหลวงปู่ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฎอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกัดไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างใน ชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้น การที่แวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระเครื่องของหลวงปู่จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกัดไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ สมัยก่อน พระวัดปากคลองเนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า "เอ็งมีลูกกี่คน?" ท่านจะให้ครบทุกคน กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจนการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำ เจ้าพระยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าพ่อขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจร ที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็น เสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี"หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า"

พระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง

การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิ์ มี ฤทธิ์ มีเดช ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์พื้นๆนั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น กล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือและการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกดิผลด้วยการ ใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือ หลีกลี้ลับ บังคบให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็น ตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจนการผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ

แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็ยังคงเป็นใบมะขาม หัวปลี ก็ คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟาง ก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่อำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง จากหนังสือ "พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี 2519 เรื่องพระใบมะขาม ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ.2459)ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่น เงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง ข้าพเจ้าถามว่า การค้าขายจะให้ลงว่ากระไร ท่านบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู " ข้าพเจ้าจึงบอกว่า "หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร " หลวงพ่อบอกว่า " มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา" ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั้นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม และท่านเสกเป่าไปที่ศรีษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมทีไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุก ก็ ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์ จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฐาก รูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า "ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ"

อนึ่งท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจานั่งสงบอารมณ์ เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น " เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯเห็นจนท่านยอมเป็นศิษย์ " หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ลวงโลก แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่า อะไรอีก หลวงพ่อพูดต่อไปว่า "เวลานี้ กรมหลวงชุมพรฯไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง ) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติ ท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้ "

ท้ายบท

การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณะภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง จากการสอบถามบรรดาลูกศิษย์ ลูกหาของท่าน ซึ่งส่วนมากจะล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่ท่านได้รับรู้จากการเขียน ของ "ท่านมหา" ซึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากหลวงปู่ จึงใกล้เคียงความจริงเท่าที่จะหาได้มากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก อิทธิปาฎิหาริ์ พระเครื่อง


16/5/60

อภินิหารหลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า


อภินิหารหลวงปู่ศุข "เสกกะลาครอบช้าง"

"หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระมหาเถราจารย์แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงฌานอภิญญาแก่กล้า บรรลุคุณวิเศษ มากด้วยบุญญาภินิหาร"

ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนยี่ เป็นปีที่หลวงพ่อศุขไม่ได้ออกเดินธุดงค์เหมือนปีก่อน ๆ ในปีนี้เองหลวงพ่อท่านกำลังบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของท่านเป็นการใหญ่ในครั้งนั้นได้มีผู้ศรัทธาบริจากทรัพย์สินเงินทองช่วย ให้หลวงพ่อทำการทำนุบำรุงก่อสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญจนเสร็จสิ้น นับว่าวัดปากคองมาขามเฒ่ามีความเจริญขึ้นมาก ได้มีบรรดาลูกศิษย์ลูกหาตามหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส ตลอดจนเจ้านายเชื่อพระวงศ์ได้มาเยี่ยมเยียนท่าน พระครูวิมลคุณากรหลวงพ่อศุขเป็นอันมาก ในเวลานั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อแผ่กระจายไปทั่วศานุทิศเชื่อมั่นเลื่อมใสในอภินิหารของท่านอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสด็จในกรมหลวงชุมพร ๆ เจ้านายเชื้อพระวงศ์องค์นี้มาเยี่ยมพระอาจารย์อยู่เสมอ บางครั้งมีเวลาว่างก็พักแรมอยู่ที่กุฏิหลวงพ่อ ๒-๓ วัน แล้วก็กลับ บางครั้งหลวงพ่อมีเวลาว่างก็ไปหาเสด็จในกรมฯ พักอยู่ในวังหลายๆวันเหมือนกัน

เวลานั้นท่านได้ประกอบพิธีปลุกเสกเลขยันต์ตระกรุดโทน พระเครื่องผ้าประเจียดไว้เป็นจำนวนมาก แล้วแจกจ่ายให้บรรดาศานุศิษย์และญาติโยม ผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วถึงกัน ในเดือนยี่ปีนั้นเองเป็นหน้าแล้ง ได้มีชาวหนือทางอุตรดิตถ์เดินทางมาค้าขายโดยมีช้างเป็นพาหนะราว ๘-๙ เชือก การค้าขายนั้นจะค้าขายอะไรฟังไม่ชัด ในสมัยนั้นทางคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางมีแต่ป่าดงพงทึบ เดินทางจากอุตรดิตถ์ ผ่านสุโขทัย กำแพงเพชร์นครสวรรค์ อุทัยธานี จนถึงจังหวัดชัยนาท ชาวเหนือที่มานั้นมีประมาณ ๑๕ คน ได้พากันมาพักแรมอยู่ที่ใต้ถุนศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่าวัดหลวงพ่อศุขนี้เองไปปล่อยช้างกินหญ้ากินใบไผ่อยู่ตามบริเวณวัด ๒-๓ วัน ช้าง ๘-๙ เชือกของชาวเหนือบางครั้งไปเหยียบย่ำของหลวงพ่อที่ปลูกไว้บ้างเช่น ต้นดอกไม้ ต้นกล้วย ผัก พริก มะเขือ เอางวงดึงใบกล้วยกินบ้างจนแหลกลาญหมด หลวงพ่อมิได้พูดว่าแต่ประการใด

บรรดาชาวบ้านต่างก็พาลูกเล็กเด็กแดงมายืนดูช้างอยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีช้างสีดอช้างพัง ช้างพลาย และลูกช้า ๒-๓ เชือก เวลานั้นเป็นเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. พวกเลี้ยงช้าง ที่มานั้นต่างก็พากันหุงข้าวปลาอาหารอยู่ที่ใต้ถุนศาลา รุ่งขึ้นว่าจะมากันเดินลงไปทางใต้ คือผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ในขณะที่กำลังหุงข้าวกันอยู่นั้นได้มีผู้คนในย่านนั้นเองมามุงดูชาวเหนือกำลังนึ่งข้าวเหนียวอยู่นั่งกันเป็นกลุ่มพูด ภาษาพื้นเมืองของเขาอย่างเจี๊ยวจ๊าวพากันบ่นว่ากับข้าวไม่พอกันกิน อีกคนหนึ่งพูดว่าจะไปยากอะไรนกพิราบอยู่บนหลังคาโบสถ์ จับเป็นกลุ่มปืนเราก็มี หน้าไม้ก็มีจัดการเลย ชาวบ้านที่ยืนมุงดูนั้นก็พากันห้ามปรามว่าหลวงพ่อท่านห้ามไม่ให้ยิงนกในวัด พวกนั้นไม่เชื่อฟัง อีกคนหนึ่งหยิบเอาปืนแก๊ปขึ้นประทับบ่ายิงไปที่นกพิราบกลุ่มนั้นสับดังเซี๊ยๆ ตั้งหลายครั้งพยายามเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่ออก

เอาปืนยิงเท่าไหร่ไม่สำเร็จ ก็เลยหันไปหยิบหน้าไม้ยิงไปอีก ยิงทีไรลูกศรตกจากร่องหน้าไม้ทุกที เป็นที่น่าแปลกประหลาดแก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ชายฉกรรจ์ชาวเหนือวัยกลางคนชักโมโหพูดว่า "ขรัวตาวัดนี้มีอะไรวะ" เมื่อพูดแล้ว คว้าได้ ขวานสั้น อันคมกริบมาฟันลงหน้าแข้งฉาดๆ กระเด็นออกเป็นฟืนหุงข้าว ทำให้ผู้คนยืนมุงดูเป็นการใหญ่ ชาวบ้านแถวนั้นตลอดจนพระสงฆ์พากันมายืนมุงดูอีกเป็นจำนวนมาก ชาวเหนือคนเลี้ยงช้างได้ใจยิ่งแสดงถากหน้าแข้งอย่างไม่หยุดยั้งออกเป็นฟืนกองใหญ่ ในขณะนั้นได้มีชาวบ้านวิ่งหน้าตาตื่นไปบอกกับหลวงพ่อศุขทันทีว่า "ได้มีคนดี (มีวิชาดี)มาจากเหนือ ถากหน้าแข้งเป็นฟืนหุงข้าวได้มีคนมุงดูกันเนืองแน่น" หลวงพ่อศุขพูดว่า "ใครวะคนดี คนเก่ง"

ชาวบ้านบอกว่า"คนเลี้ยงช้างครับหลวงพ่อ" หลวงพ่อศุขดุด่าขึ้นเสียงดัง "ไอ้ห่านี่...มันถากเสาศาลากูเดี๋ยวเถอะกำแหงใหญ่แล้วพวกนี้" ในเวลานั้นเป็นเวลาใกล้พลบค่ำแล้ว หลวงพ่อศุขคิดจะดัดสันดานพวกนี้ให้เข็ดหลาบเพราะท่านทราบว่า จวนจะได้เวลาพวกเลี้ยงช้างจะต้องต้อนช้างไปผูกแล้วสุมไฟให้ช้างนอน หลวงพ่อเดินลงจากกุฏิคว้ากะลามะพร้าวอันหนึ่งเดินไป
ลานหญ้าหน้ากุฏิ หยุดบริกรรมพระเวทย์อันศักดิ์สิทธิ์ เรียกฝูงช้างมารวมกัน ด้วยอำนาจเวทย์มนต์หลวงพ่อศุข ช้างถูกลมพัดปลิวเท่าตัวแมลงวันตกอยู่ตรงหน้าแล้วท่านเอากะลาครอบลง แล้วเอาเท้าเหยียบ ตรึงด้วย พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ เป่าลงบนกะลาครอบนั้นเสร็จแล้วท่านก็เดินขึ้นไปบนกุฏิ

พวกเลี้ยงช้างพากันกินข้าวปลาอาหารอิ่มหนำสำราญแล้ว ก็พากันไปต้อนช้างเข้านอนช่วยกันหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ จนอ่อนใจจนถึงกับพากันร้องไห้ ขึ้นไปกราบเท้าหลวงพ่อปรับทุกข์ให้ท่านฟัง ขอสมาลาโทษต่อหลวงพ่อว่าถ้าช้างถูกขโมยไปแล้วเขาจะกลับบ้านไม่ได้ ขอให้หลวงพ่อช่วยสักครั้งเถิด หลวงพ่อศุขก็สั่งสอนว่า
"เรามาทำมาหากินให้อุตส่าหะขยันหมั่นเพียร อย่าเบียดเบียนคนอื่น จะได้เอาเงินกลับไปเลี้ยงลูกเมีย พวกมึงกำแหง ศาลากูสร้างต้องเสียเงิน มึงเอาขวานมาถากเสาศาลาทำให้เสียหาย มึงจะต้องเอาเงินมาเปลี่ยนทำเสาศาลากูให้ดีอย่างเดิม กูจึงจะเอาช้างให้มึง"

พวกเลี้ยงช้างเหล่านั้นก็ยอมรับผิด แล้วมอบเงินให้กับหลวงพ่อ ให้พอกับการ เปลี่ยนเสาศาลาให้ดีเท่าเก่า ก้มลงกราบอ้อนวอนขอสมาลาโทษทุกอย่าง หลวงพ่อศุข บอกว่า "มึงตามมา พรุ่งนี้มึงต้องไปนะ ต้นไม้กูปลุกไว้ฉิบหายหมด
นี่แน่ะ ช้างมึงกูเอากะลาครอบเอาไว้" หลวงพ่อศุขเปิดกะลาที่ครอบนั้นออก ช้างก็กลายร่างเท่าเดิม 
พวกชาวเหนือเห็นดังนั้นก็ก้มลงกราบแทบเท้าหลวงพ่อ แล้วนำช้างเข้าพักนอน
หลวงพ่อแสดงอภินิหารให้เห็นประจักษ์ครั้งนี้ เป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่พระสงฆ์และชาวบ้าน ย่านนั้นจึงเล่ากันต่อๆ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ขอบคุณที่มา: ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม ทาง facebook.

15/5/60

ประวัติพ่อท่านซัง วัดวัวหลง



ประวัติพ่อท่านซัง วัดวัวหลง

พระมหาเถราจารย์ชื่อดังในตำนานแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ผู้ทรงวิทยาคุณ มากด้วยบุญญาภินิหาร 
พระครูอรรถธรรมรส (ซัง สุวัณโณ) หลวงพ่อซัง นามเดิมชื่อซัง เป็นบุตร คนสุดท้ายของขุนวิน ศักดาวุธ (บุศจันทร์ ศักดาวุธ) มารดาชื่อนางส้ม ศักดาวุธ เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุนตรงกับวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ บ้านพัง หมู่ที่ ๒ ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หลวงพ่อซัง ท่านมีพี่สาว ๒ คน ชื่อนางรอดและนางแก้ว เมื่อท่านอายุได้ ๑๑ ปี ได้ไปศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักท่าน อาจารย์นาค เจ้าอาวาส วัดพัง ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ท่านย้ายไปศึกษาในสำนักของท่าน อุปัชฌาย์รักษ์ วัดปัง ต.ควรชุม อ.ร่อนพิบูลย์ ท่านเรียนวิชาเลข และคัดลายมือ ขณะที่หลวงพ่อซัง ท่านศึกษาอยู่ท่านเป็นคนฉลาดความจำดี มีความขยันอดทนเป็นเลิศ อุปัชฌาย์รักษ์ เห็นแววและอนาคตจะไปไกล จึงบวชเณรให้เมื่ออายุ ๑๖ ปี หลังจากบวชเณรแล้วท่านก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระเพิ่มขึ้น พอเป็นแนวทางปฏิบัติท่านอยู่ต่อมาจนครบปี เผอิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดตรัง เดินทางไปนมัสการพระอุปัชฌาย์รักษ์ พบสามเณรน้อยผู้มีสติปัญญาไหวพริบดี จึงของตัวไปให้รับราชการในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ที่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ท่านรับใช้ประเทศชาติในตำแหน่งเสมียนตรา อยู่ ๓ ปี เห็นว่าเป็นหนทางแห่งความทุกข์ยาก หาอะไรแน่นอนไม่ได้ ปราศจากความสุขอันมั่นคง ชีวิตท่านได้รับรสพระธรรม คำพร่ำสอนจาก อุปัชฌาย์รักษ์ ยังฝังลึกอยู่ในใจท่าน จึงลาออกจากราชการเมื่ออายุ ๒๐ ปี แล้วเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา เตรียมตัวอุปสมบทเมื่ออายุย่างเข้าอายุ ๒๑ ปี พ่อท่านซัง อุปสมบท เมื่อเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพุธ พ.ศ. ๒๔๑๔ อุปสมบทที่วัดปัง บวช ณ ที่เดิมที่ท่านได้บวชเณร อุปัชฌาย์รักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านอาจารย์นาค เจ้าอาวาสวัดพัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านอาจารย์ทองดี วัดปัง เป็นพระอนุศาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุวัณโณ เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อซัง ท่านไปศึกษาอยู่ในสำนัก อาจารย์นาค วัดพัง ศึกษาเพิ่มเติมทางด้านคาถาอาคมอยู่หนึ่งพรรษา พ่อท่านซัง จึงกราบลาอาจารย์นาค ไปอยู่กับท่านอาจารย์โฉม เจ้าอาวาสวัดวัวหลุง เพื่อศึกษาคันถะธุระและอบรมวิปัสสนาธุระ กับอาจารย์ชูอาจารย์สด วัดวัวหลุงสรุปแล้วท่านมีอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิปัสสนา ไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์แห่งเดียวถึงสามองค์ ท่านพยายามฝึกฝนสมาธิจิตท่องมนต์คาถา และธรรมะจนสามารถเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติเป็นคนดีอยู่ในศีลธรรม
เมื่อหลวงพ่อซัง ท่านมีอายุพรรษาได้ ๑๑ พรรษาตำแหน่งสมภาร วัดวัวหลุงว่างลง พ่อท่านซังจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารสืบแทนอาจารย์ของท่าน พ.ศ.๒๔๓๘ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรในท้องถิ่น พ.ศ.๒๔๔๑ พ่อท่านซังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงให้ปกครองวัด ๑๓ วัด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งไม่ว่าภาระหน้าที่นั้นจะยากลำบากเพียงใด สมัยก่อนไม่มีถนนไม่มีรถวิ่ง ต้องเดินรัดป่าตัดทุ่งนาป่าเขาไปสงเคราะห์ผู้ทุกข์ยาก กาลเวลาสืบต่อมาเมื่อ พระศรีธรรมมุณี (พระรัตนธัชมุณี) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ นครศรีธรรมราช ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฆลนครศรีธรรมราช เห็นว่าพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารหมู่คณะสงฆ์ดี ปฏิบัติน่าเลื่อมใส จึงให้ประทานตราตั้งเป็นพระครู เจ้าคณะแขวงเมื่อ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๔๕ ให้เป็นผู้ปกครองวัด ในอำเภอร่อนพิบูลย์ทั่วทุกวัด จนลุถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น พระครูอรรถธรรมรส หลวงพ่อซัง บริหารคณะสงฆ์สืบต่อมาจนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด โดยบูรณะถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ โรงเรียน ยังมีสภาพอันเก่าแก่ให้เห็นหลายแห่ง ในอำเภอร่อนพิบูลย์ ประชาชนพากันมาหาสู่ท่าน เพื่อขอพรจากท่าน ให้ท่านรดน้ำมนต์ ขอลูกอมชานหมาก และของที่ท่านแจกให้เป็นของที่ห่วงแหนกันมาก ครั้ง พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงพ่อซัง ชราภาพมากจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก จึงโปรดเกล้าให้เป็นกิตติมศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งราชการ รวมเวลาที่ท่านได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าคณะแขวงอยู่ ๑๓ ปี เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคชรามาตั้งแต่ต้นปี ต่อมาโรคได้กำเริมหนัก จนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เวลา ๑๐.๒๐ น. ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี

ประวัติญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ



ประวัติญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ (พระทองคำแห่งเมืองดอกบัว)

"หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก" พระเกจิชื่อดังแห่งวัดบ้านพับ จ.อุบลราชธานี ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกขานนามท่านว่า "พระทองคำแห่งเมืองดอกบัว" ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามและเรียบง่าย อยู่แบบสันโดษ

ปัจจุบัน หลวงปู่ญาท่านโทน สิริอายุ 93 ปี พรรษา 73 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านพับ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่ญาท่านโทน เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2467 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ที่บ้านพับ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายมาและนางคำ เผ่าพันธุ์

ใน วัยเด็กได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล ประจำตำบล จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2487 ณ วัดบ้านก่อ ต.ก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดยมี พระครูศรีสุตาภรณ์ วัดคูขาด เป็นพระอุปัชฌาย์, ญาท่านกรรมฐานแพง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และญาท่านทน วัดคูขาด เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายา "ขันติโก"

หลวงปู่ญาท่านโทน ขันติโก วัดบ้านพับ จ.อุบลราชธานี

ท่าน ได้จำพรรษาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบ้านก่อ ในยุคนั้นชื่อเสียงของญาท่านกรรมฐานแพง พระกรรมวาจาจารย์ของท่านโด่งดังไปทั่วอีสานในฐานะพระเกจิผู้เรืองวิทยาคม จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคม โดยญาท่านกรรมฐานแพง เมตตาถ่ายทอดวิทยาคมให้จนหมดสิ้น ซึ่งญาท่านกรรมฐานแพง เป็นอาจารย์ของญาท่านสวน วัดนาอุดมด้วย

จากนั้นญาท่านโทน ได้ไปเรียนวิชาจาก "ญาท่านอินทร์" เจ้าตำรับประคำสายดำ ได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อเคน เรวโต

ด้วยวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอ ต้นเสมอปลาย และเป็นศิษย์ของญาท่านกรรมฐานแพง ทำให้ชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนในวงกว้าง

ญาท่าน โทน มีอุปนิสัยเงียบๆ ไม่ค่อยพูด คราวที่ท่านพูด จะได้รับคำเรียกขานจากชาวบ้านว่า "วาจาสิทธิ์" เป็นดังปากท่านปรารภทุกคราวไป

วัตรปฏิบัติของญาท่านโทน ช่วงหลังเทศกาลออกพรรษาทุกปี จะออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพรหลายแห่งในภาคอีสาน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาภูพาน สมัยนั้นป่าอุดมสมบูรณ์มาก บางครั้งเผชิญสัตว์ร้าย แต่ท่านหาหวั่นไหวไม่ เนื่องจากมีพลังจิตที่กล้าแข็งมาก ท่านได้แผ่เมตตาจิตให้สัตว์เหล่านั้น ไม่เข้ามาทำร้ายแต่อย่างใด

ญาท่านโทน ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมา กราบนมัสการหลวงปู่อย่างล้นหลาม

สำหรับปัจจัยที่ได้จากการบริจาค ท่านได้นำไปพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับวัดแห่งนี้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ทำให้วัดบ้านพลับ แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังนำพระภิกษุ-สามเณร และญาติโยมร่วมกันปรับปรุงภายในบริเวณวัดให้มีความร่มรื่นสวยงามด้วยการปลูก ต้นไม้ สร้างความสงบวิเวกเหมาะสมในการปฏิบัติธรรมยิ่งนัก

ญาท่านโทนได้ถ่ายทอดหลักธรรมง่ายๆ แก่ชาวบ้านให้ยึดถือปฏิบัติ คือ การรักษาศีล 5 เนื่องจากปุถุชนคนธรรมดายังมีกิเลสอยู่ขอให้รักษาศีล 5 ให้ได้ก็พอชีวิตจะพบแต่ความเจริญรุ่งเรืองแน่นอน

ด้วยนิสัยที่มี ความเมตตา พูดน้อย ถ่อมตนไม่หยิ่งด้วยเกียรติ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศสรรเสริญ เคร่งครัดในสิกขาวินัย ยินดีในสิ่งที่ได้ใช้ในสิ่งที่มี ยินดีและพอใจตามมีตามได้ ชอบการสงเคราะห์ช่วยเหลือ เกี่ยวกับการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม

จึงเป็นพระผู้ใหญ่ของ จังหวัดที่ได้รับการยกย่องจากพระสงฆ์ด้วยกัน และชาวพุทธทั้งหลาย"

หลวงปู่ ญาท่าน โทน วัดบ้านพับ วาจาสิทธิ์ บารมียิ่งใหญ่แดนดินถิ่นอีสาน

- ญาท่านโทน เป็นองค์เดียวที่ ญาท่านสวน จับ เหรียญเอราวัณฯ ตกใจ ครูเดียวกัน เปล่งอุทานว่า “แรงหลายแท้”
- ญาท่านโทน เป็นองค์เดียวที่ สืบพุทธคุณ กรรมฐาน แพง มือขวา สำเด็จ ลุน นครจำปาสัก ญาครูอินทร์ ประคำสายดำ หลวงพ่อเคน ดงเศรษฐี ตาประขาวผมยาวในป่า
- ญาท่านโทน เสกพระ มีพระนั่งสมาธิตามเห็นองค์ท่านใหญ่เท่าฟ้า มีหัวใจเป็นแก้วส่องสว่างมาก ไฟฟ้าดับทั้งตำบล แต่ที่กุฏิหลวงปู่มีแสงส่องสว่างคลุมทั่ววัด
- ญาท่านโทน สืบตำราตรง พระเศรษฐีนวโกฎิ ตำรับจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท)

ปัจจุบัน หลวงปู่ญาท่านโทน เจริญอายุ ๙๓ ปี ไม่ออกจากกุฏิตลอดเวลา ยกเว้นทำวัตรเช้าเย็นเท่านั้น สมถะ เรียบง่าย บริสุทธิ์ สมนาม “พระทองคำแห่งเมืองอุบล” “ สันโดษ ” ไม่ต้องการยศถาบันดาศักดิ์ อาบน้ำก๊อก นั่งสมาธิทั้งวัน สืบทอดพระเวทย์ชั้นครูจากปรมาจารย์ลุ่มน้ำโขงครบถ้วน ขึ้นกรรมฐานจาก “กรรมฐาน แพง ” ศิษย์สำเร็จ ลุน นครจำปาสัก (ญาท่านกรรมฐาน แพง เป็นอาจารย์ ของญาท่าน สวน วัดนาอุดม ด้วย) จากนั้นไปเรียนวิชาจาก ญาท่าน อินทร์ เจ้าตำรับ ประคำสายดำ หลวงพ่อเคน เรวโต หรือ เคนดงเศรษฐี ตัวจริงที่ออกจากป่าเมื่อใด บอกขุมทรัพย์ในป่าให้ญาติโยมเสมอ จนได้รับฉายาว่า “ดงเศรษฐี ” ไปเรียนที่เมืองลับแล พญานาค เทพ พรหม พระอริยเจ้า ตาประขาวผมยาว ญาท่านโทน ผ่านพลังจิตว่าคือ “หลวงปู่เทพโลกอุดร”มาโปรดสอนท่าน ญาท่านโทน ท่านเงียบๆไม่ค่อยพูด ถ้าพูดจะเป็น “วาจาสิทธิ์” ออกจากปากท่านทุกคราวไป

ปาฏิหาริย์หลวงปู่มีมาก ยิงตะกรุดตาแตก พรมน้ำมนต์ ให้กลับไปบ้านถ่ายออกมาเป็น เหล็กแหลมและเส้นผม ใครได้กราบ ได้ใช้วัตถุมงคลของหลวงปู่ชีวิตเปลี่ยนดีขึ้นทุกคน โดนยิงจ่อๆ ลูกปืนเฉียวหู ประคำสายดำงูไม่กล้าอ้าปากกัด ปัจจุบันนี้ ญาท่านยังโปรดสัตว์เป็นที่พึ่งของสาธุชนมิรู้ลืม"

วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่ท่านบอกไว้ว่า..." ของที่กูทำ มีไว้บ่จน บ่อดตาย แคล้วคลาดปลอดภัย บ่มีตายโหง "


14/2/60

ประวัติหลวงปู่หลิว ปณฺณโก



ประวัติหลวงปู่หลิว ปณฺณโก วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า “หลิว” นามสกุล “แซ่ตั้ง” (นามถาวร) บิดามีนามว่า คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง มารดามีนามว่า คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีมะเส็ง) ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันทังหมด 9 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 4 คน (มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน มีน้องชาย 3 คน และน้องสาว 3 คน) ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว
ครอบครัวของหลวงปู่หลิวอยู่ในชนบท ที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพหลักคือ ทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิงทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกันแต่หลวงปู่หลิวกลับมองเห็นความยากลำบากของบิดา มารดา และพี่ ๆ จึงได้ช่วยงานบิดา มารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวเป็นที่รักใคร่ของบิดา มารดา ตลอดจนพี่ ๆ และน้อง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่ ทำนา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านทั่วไป
ในบางครั้งหลวงปู่หลิว ท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกลเพื่อไปทำงานบางครั้งไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่หลิวมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย (เพราะหลวงปู่หลิวท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวคือ ท่านมี “ความจำ” เป็นเลิศ) นอกจากท่านจะเป็นช่างไม้ฝีมือดีแล้วท่านยังเป็นหมอยาประจำหมู่บ้านหนองอ้อ, ทุ่งเจริญ, บ้านเก่า และละแวกใกล้เคียงไปโดยปริยายใครมาขอตัวยากับท่าน ท่านก็ให้ไปทุกคน
ครอบครัวโดนรังแก
ในอดีตนั้นเขตภาคกลางโดยเฉพาะ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กล่าวกันว่าเป็นแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายโด่งดังมากมาย คนหนุ่มทั้งหลายกลุ่ม หลายถิ่นต่างตั้งกล่มเป็นโจรผู้ร้ายปล้นจี้สร้างอำนาจอิทธิพลในพื้นที่ของตน คนบางกลุ่มก็ตั้งกลุ่มเพื่อปกป้องคุ้มครองถิ่นของตน ครอบครัวหลวงปู่หลิวเองก็ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มโจร ท่านได้พูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า “โยมพ่อโยมแม่และพี่ชายเป็นคนซื่อ ใจรมาขโมยวัว ขโมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้พวกโจรได้ใจทำให้วัดควายและข้าวของที่พยายามหามาด้วยความยากลำบากต้องสูญเสียไป อาตมาจึงเจ็บใจและแค้นใจ เป็นที่สุด แต่ทำอะไรมันไม่ได้”
ในบางครั้งโจรที่มาปล้นวัวควาย คุณพ่อเต่งและพี่ชายคนโดไม่เคยกล้า ที่จะเข้าขัดขวาง ขอเพียงแต่อย่าทำร้ายบุตรหลานก็เป็นพอ “ข้าวของเป็นของนอกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้”
หลวงปู่หลิวในช่วงนั้นก็เป็นวัยรุ่นเลือดร้อน ก็ทวีความโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดหาวิธีปราบโจรผู้ร้าย อย่างเด็ดขาดให้ได้ อันเป็นการช่วยตนเอง และชาวบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายต่อไป

เข้าป่าเรียนอาคม

หลวงปู่หลิว ได้ชวนหลานชายผู้เป็นลูกของพี่ชาย และหลานชายผู้เป็นลูกของพี่สาว หนีออกจากบ้านไปแสวงหาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ในดงกระเหรี่ยง เพื่อขอเรียนวิชาไสยศาสตร์ เพื่อนำมาปราบโจรผู้ร้าย ที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านแทบทุกวัน ซึ่งหลานชายทั้งสองก็เห็นด้วย บนเส้นทางอันเป็นป่าเขาดงดิบด้านชายแดนไทย-พม่า มีป่าไม้รกทึบ อากาศหนาวเย็นด้วยจิตใจอันแน่วแน่ เด็กหนุ่มทั้ง 3 จึงรีบเร่งเดินทางให้ถึงจุดหมายโดยเร็วที่สุด
ป่าดงดิบสมัยก่อนนอกจากจะรกทึบแล้ว ยังเต็มไปด้วยไข่ป่าอันน่าสะพรึงกลัว ในระหว่างการเดินทางหลานชายผู้ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายเกิดป่วยหนักด้วยโรคไข้ป่า ยารักษาก็ไม่มีเพราะไม่ได้เตรียมมา หลวงปู่หลิวจึงหยุดพักการเดินทางเพื่อรักษาไข้ป่าไปตามมีตามเกิด หลานชายทนความหนาวเหน็บและพิษของไข้ป่าไม่ไหว จึงได้สิ้นใจตายไปต่อหน้าต่อตาของหลวงปู่หลิวผู้เป็นอา และหลานอีกคน
ความรู้สึกในเวลานั้นทำให้พาลโกรธโจรผู้ร้ายมากยิ่งขึ้น ทางหลานชายเมื่อเห็นลูกพี่ลูกน้องของตนต้องมาตายจากไปจึงเกิดขวัญเสียไม่อยากเดินทางต่อไปตามที่ตั้งปณิธานเอาไว้ เพราะเกรงว่าหนทางข้างหน้าไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก จึงเอ่ยปากชวนน้าชายกลับบ้าน แต่หลวงปู่หลิวได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่กลับแน่นอน ถ้าไม่สำเร็จวิชา
หลังจากนั้นหลวงปู่หลิว ได้แยกทางกันกับหลานชายมุ่งหน้าสู่ดินแดนกระเหรี่ยง ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ เมื่อไปถึงมีชาวกระเหรี่ยงที่พอพูดไทยได้บ้างก็เข้ามาสอบถาม หลวงปู่หลิวจึงได้บอก ความต้องการให้เขาฟัง
หลวงปู่หลิวโชคดีได้พบอาจารย์หม่งจอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยง จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชาอาคมด้วย ท่านใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านั้นนานร่วม 4 เดือน ถึงจะได้เริ่มเรียนวิชากับอาจารย์หม่ง อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงให้ความเมตตาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้อย่างเต็มใจ ระหว่างอยู่กับอาจารย์ หลวงปู่หลิวมีความมานะบากบั่นช่วยงานทุกอย่าง จนเป็นที่รักใคร่ของทุกคน สำหรับวิชาที่ได้ร่ำเรียนในขณะนั้นคือวิชาฆ่าคนโดยเฉพาะ เพื่อไปแก้แค้นโจรที่ลักวัวควาย หลวงปู่หลิวอยู่กับอาจารย์ชาวกระเหรี่ยงได้ 3 ปี กว่าจนถึงวัย 21 ปี ก็ศึกษาวิชาอาคมได้อย่างลึกซึ้ง ก่อนจะเดินทางกลับผู้เป็นอาจารย์ได้กำชับอย่างเด็ดขาดว่าวิชาอาคมต่าง ๆ ที่ประสิทธิ์ประสาทให้ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกผู้อื่นทำรังแกทำร้ายอย่างถึงที่สุด เพราะมันเป็นวิชาฆ่าคน ท่านก็รับคำและเดินทางกลับบ้านเกิดด้วยความมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาให้หมู่บ้านของตนจึงเดินทางกลับบ้าน เมื่อได้พบบิดา มารดาแล้ว หลวงปู่หลิวได้ลาท่านไปท่องเที่ยวอีกครั้ง
ใช้ควายธนูปราบโจรขโมยวัว
ในฤดูฝนปีถัดมา หลวงปู่หลิวได้กลับจากท่องเที่ยว มาช่วยบิดามารดาทำไร่นาที่บ้านเกิดอีกครั้ง วัวควายที่เคยเลี้ยงอย่างระมัดระวัง ก็ปล่อยให้มันกินหญ้าตามสบาย เขาทำมาหากินได้ไม่กี่เดือนมีเพื่อนฝูงที่สนิทคนหนึ่งแจ้งข่าวให้ทราบว่า โจรก๊กหนึ่งจะเข้าปล้นวัวควายเขาในเร็ว ๆ นี้ หนุ่มหลิวก็เตรียมรับมือทันที แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเตรียมตัวเช่นไร่ ทุกวันเขาทำตัวปกติมิได้อาทรร้อนใจกับเรื่องที่โจรจะเข้าปล้นกลางวันทำไร่ เลี้ยงควายไปตามเรื่อง ตกเย็นค่ำมืดกินข้าวกินปลาหากไม่มีเพื่อนแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเขาก็เข้านอนแต่หัววัน
อีกหลายสิบวันต่อมา คืนหนึ่งดึกสงัดเป็นวันข้างแรม ท้องทุ่งอันเวิ้งว้างมืดสนิทไร้แสงเดือน ท้องฟ้ามีแต่หมู่ดาวกลาดเกลื่นระยิบระยับไปทั่ว แต่ที่บ้านของหนุ่มหลิว มันเงียบแต่ไม่สงัด ร่างตะคุ่มหลายสายพากันเคลื่อนไหวเข้าใกล้เรือนที่มืดมืดของเขา ร่างเหล่านั้นมุ่งไปที่คอกวัวควายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคุมเชิงระวังภัยให้กับเพื่อน
ทันใดนั้น กลุ่มโจรที่เข้าไปเปิดคอกถึงกับตะโกนร้องอย่างตกใจ ระคนด้วยความหวาดกลัวแล้วแตกกระเจิงออกคนละทิศละทาง เสียงโวยวายร้องบอกให้เพื่อนหลบหนีดังขึ้นสลับร้องโหยหวนเจ็บปวด
เช้าตรู่ของวันใหม่ ท่านเอาวัวควายออกเลี้ยงตามปกติที่ไร่ แม้ว่ารอบบ้านจะมีร่องรอยเท้าคนย่ำอย่าสับสนและมีรอยเลือดกองเป็นหย่อม ๆ และกระเซ็นไปทั่ว เขาไม่ยี่หระวางเฉย เพียงแต่ก้มลงหยิบสิ่งหนึ่งที่หน้าคอกสัตว์ มันคือ รูปปั้นควายดินเหนียว ซึ่งเลอะไปด้วยเลือดเต็มเขาและหัวของมัน หรือว่าสิ่งนี้ คือ ”ควายธนู” ทำการขับไล่เหล่าโจรร้าย ไม่มีใครรู้นอกจากหนุ่มหลิวเพียงคนเดียว
ข่าวการใช้ควายธนุขับไล่โจรก๊กนั้นแพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้านและลือกันต่าง ๆ นานาว่าท่านเป็นผู้มีของดี ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีมิจฉาชีพคิดอยากลองของ ด้วยการซุ้มรุมทำร้ายด้วยอาวุธนานาชนิด แต่มีด ปืนผาหน้าไม้ที่รุมกระหน่ำไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่น้อย แถมการที่ท่านสู้แบบไม่ถอยทำให้คนร้ายวิ่งหนีกันหัวซุกหัวซุน จากชัยชนะหลายครั้ง หลายหนต่อการรุกรานในรูปแบบต่างๆ สร้างความพอใจให้กับคนในหมู่บ้านบางรายถึงกับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ แต่ก็มีชาวบ้านบางพวกกับมองว่าท่านเป็นนักเลงหัวไม้
ในที่สุดหลวงปู่หลิวก็ปราบโจรลงอย่างราบคาบ จนโจรหลายคนต้องมากราบขออโหสิ และบางคนก็มาขอเป็นศิษย์ นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องหวาดผวาโจรผู้ร้าย บรรดาโจรผู้ร้ายหลายคนก็ได้กลับตัวกลับใจ ทำมาหากินด้วยความสุจริต อย่างชาวบ้านทั่วไป หลวงปู่หลิวได้กล่าวถึงพวกโจรขโมยวัวควายที่พ่ายแพ้ตนว่า “คนเราถ้าอยากจะชนะ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกล ก็ต้องเอาด้วยคาถา แต่เมื่อเขายอมรับผิด ยอมกลับตัวกลับใจ เราก็ควรให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิดเป็นการให้ที่ประเสริฐและได้กุศลด้วย”

ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย
ภายหลังที่หลวงปู่หลิวได้ปราบโจรเป็นที่เรียบร้อย และชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขแล้ว หลวงปู่หลิวก็ได้กลับมาทำไร่ ทำนาตามปกติ ตอนนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง เผาถ่านท่านก็เคยทำ เก็บเห็นเผาะขายก็เคย รับจ้างทำไร่ก็เคย ตอนที่ท่านทำไร่นี่แหละ ท่านไปเจอแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อ ”นางหยด” เกิดชอบพอกันขึ้นมา ก็เลยอยู่กินด้วยกัน และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งคือ นายกาย นามถาวร ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่มีความรักเอื้ออาทรต่อกัน

สู่โลกธรรม


เมื่อหลวงปู่หลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยด ระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสแห่งความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ราคะต่าง ๆ หลวงปู่หลิวเริ่มจับตามองความเป็นไปต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังคมทีละน้อย ๆ และความรู้สึกนั้นได้เพิ่มพูนมากขึ้น

จนกระทั่งหลวงปู่หลิวมีอายุได้ 27 ปี ได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีด ในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันตามสภาวะแห่งกิเลสตัณหา ราคะของชีวิตฆราวาส ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของตน คือรักความสงบชอบความสันโดษเรียบง่าย จิตใจของหลวงปู่เริ่มเองเอียงไปทางธรรมะธัมโม อยากจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่ออกบวชแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ท่านทั้งสองก็เห็นดีเห็นงาม ด้วยความปลาบปลื้มเป็นล้นด้น ที่ลูกชายจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

หลวงปู่หลิว ได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ประมาณเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. 2475 ปีวอก) โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” อ่านว่า ปัน-นะ-โก

เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่หลิว ปณฺณโก ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไปทั้งยังความสะดวกสบายกว่าที่อื่น ๆ เพราะมีญาติพี่น้องให้ความอุปัฏฐากอย่างใกล้ชิด

ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่หลิวได้มีโอกาสใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่งซึ่งใหญ่มากจนสำเร็จ

ต่อมาอีก 4 เดือนท่านได้ช่วยปรับพื้นศาลาเสร็จอีก และยังได้สร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) อีก 50 ชุด เพื่อถวายให้กับวัดหนองอ้อ จึงนับได้ว่าหลวงปู่หลิวไม่เคยหยุดนิ่ง ท่านมีพรสวรรค์ทางเชิงช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ และญาติโยม ชาวบ้าน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภายหลังจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของหลวงปู่หลิวทั้งสิ้น

จากคุณ ไทยสมบัติ [ 24/11/2546 - 20:08:00 ]
ขอบคุณที่มา

http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-lew-hist.htm

หลวงพ่อปาน "ปราบคนทำคุณไสย์"



เรื่องนี้เล่าโดย:หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ผู้เป็นศิษย์หลวงพ่อปาน
วันหนึ่งเวลาเย็น มีลาวคนหนึ่งเดินมาทางหลังวัด เข้ามาอาศัยนอนอยู่ในป่าช้า คือมันมีกระท่อมเล็กๆ อยู่หลังหนึ่งที่คนตายชื่อว่า ตาสุด เวลาตายแล้วเขาปลูกกระท่อมหลังนั้น เป็นที่เก็บศพ แต่ว่าขณะนั้นศพเผาไปแล้ว แต่ว่ากระท่อมเขาไม่ได้รื้อ เป็นที่อาศัยของพระเจริญสมณธรรม
พระที่เจริญกรรมฐานไปอยู่ที่นั่น เวลากลางวันกลางคืนตามแต่อัธยาศัย ลาวก็มา นอนอยู่ในที่นั้น จ้างเด็กตักนํ้าไปให้ ถังละ ๑ สตางค์ เมื่อลาวมาพักอยู่ในตอนเย็นเมื่อถึงเวลาตีสอง หลวงพ่อปานลุกขึ้นเรียกฉัน ฉันนอนอยู่ใกล้ๆ บอกให้ไปตามพระมาให้หมด ถึงตีสองแล้ว
ฉันก็ไปตามพระมา ไม่รู้ท่านประสงค์อะไรก็บอกว่า เมื่อพระมาครบถ้วนแล้ว
ท่านก็บอกว่า ดูอะไรนี่
ฉันมองเห็นตะขาบตัวเท่าแขนฉัน ขดกลมอยู่หน้าเตียงของท่าน ก็ถามว่าอะไรครับหลวงพ่อ ท่านบอกนี่แหละ "คุณคน"
ถามว่า ตะขาบเป็นคุณคนได้หรือครับ ตะขาบทำไมตัวโต
ท่านบอกเป็นตะขาบวิชา ไอ้ลาวคนนั้นมันทำฉัน มันจะฆ่าฉัน
พอท่านบอกเท่านั้น พระหนุ่มๆ ก็ทำท่าฮึดฮัด จะไปเล่นงานลาว
ท่านบอกไม่ต้อง กรรมของเขาให้เขารับไป อย่าไปทำเขา ถ้าทำแล้วมันบาป
ท่านบอกว่า ตะขาบตัวนี้เขาเสกมาให้กัดฉัน ถ้ามันกัดฉันได้ละก็ฉันตาย แก้ไม่ทันหรอกมั้ง พวกแกนี่แก้ไม่ได้ ไม่มีใครมีความรู้ แก้ก็ไม่ทัน แต่ว่าบังเอิญฉันตื่นขึ้นมาก่อน เห็น ตะขาบมันวิ่งมาด้วยความไว ฉันก็เลยใช้หวายขีดเส้นสะกัด มันก็หยุดอยู่แค่เส้นที่ฉันขีด แล้วฉันก็เอาหวาย วนๆ มันก็ขดไปตามหวายที่ฉันวง
ท่านบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกันนะ ของ ๆ ใครก็ให้เขานะ เราไม่รับ เราไม่ได้ทำมานี่ แต่เมื่อเขาทำมาเราก็คืนให้เขา มันจะเป็นอะไรก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่ได้ตั้งใจให้เขาตาย ท่านก็เอาหวายขีด วงย้อนกลับ คือคลายตัว ตะขาบก็คลายไปตามเส้นที่ท่านขีด เมื่อตะขาบตั้งตัวตรง คือคลายเป็นตัวตรงแล้ว ท่านก็เอาหวายเคาะกระดานข้างหลัง ตรง ๆ แต่ห่าง ๆ ตะขาบ ๓ ครั้ง ตะขาบก็หายปั๊บไปทันตา ในพริบตาเดียว ไม่รู้ว่าตะขาบไปอย่างไร ทั้ง ๆ กุฏิก็มีข้างฝา ปิดหน้าต่างประตูหมด แต่ตะขาบหายออกไปอย่างไร ไม่มีใครรู้
เมื่อตะขาบหายไปแล้ว ท่านก็สั่งว่ารีบไป ถามว่ารีบไปไหนครับ
ท่านบอก พวกเธอรีบไปที่ลาวนั่น หามมันมาหาฉัน ประเดี๋ยวมันจะตายเสีย มันจะแก้ไม่ทัน ของๆ มันเล่นงานมันเสียแล้ว พระทั้งวัดก็เฮโลไปที่ลาว ที่ไหนได้เจ้าลาวคนนั้น นอนร้องครวญครางฮือฮา บวมทั้งตัว
พวกเราก็รีบหามมาหาท่าน
ท่านก็ปล่อยให้ยังบวมอยู่อย่างนั้น ยังปวดอยู่อย่างนั้น แล้วท่านก็สอบสวนว่า
ตะขาบเธอทำมาใช่ไหม
ทีแรกเขาไม่รับ
ท่านบอก ถ้าไม่รับก็ตายเสียเถอะ เป็นของของเธอ ไม่ใช่ของของฉัน
ไอ้เจ้าลาวคนนั้นทนไม่ไหวก็บอกรับ รับว่าทำ
ถามว่า ทำทำไม
บอก จะฆ่าท่าน
ถามว่า จะฆ่าฉันทำไม
บอก จะฆ่าให้ตาย เพราะว่าทำมาทีไรก็แก้ได้ทุกที
ผลที่สุดท่านก็บอกว่า ถ้าหากเธอไม่ฆ่าฉัน ฉันจะไม่ตายเหรอ ฉันก็ต้องตายเหมือนกัน เธอจะฆ่าฉันให้มันบาปทำไม ในที่สุดลาวก็ขอให้ท่านแก้ ให้ท่านรักษาให้หาย ท่านก็บอกรักษาให้หายได้ แต่เธอต้องให้สัญญาก่อนว่า
๑. หายแล้ว เธอจะบวช
๒. เมื่อบวชแล้ว เธอจะละวิชาความรู้นี้ทั้งหมด ไม่ทำต่อไป
ถ้าเธอให้สัญญากับฉัน ฉันจะรักษา ถ้าเธอไม่ให้สัญญากับฉัน ฉันจะไม่รักษา เจ้าลาวคนนั้นดื้อแพ่งอยู่พักหนึ่ง แต่ในที่สุด ก็ทนความเจ็บปวดไม่ไหว ก็ยอมรับ เมื่อยอมรับท่านก็นำนํ้ามาขันหนึ่งมาทำเป็นนํ้ามนต์ เอามาพรมๆ แล้วให้ลาวคนนั้นดื่ม พอดื่มเข้าไปประเดี๋ยวเขาก็หาย ชักจะหายปวด บรรเทาปวดลงไป แล้วก็บอกว่า ชักจะปวดอุจจาระ
ท่านก็บอกว่า ให้ไปถ่ายอุจจาระที่กลางนอกชาน ให้ถ่ายร่องให้มันค้างดินอยู่ เราก็ไม่เข้าใจถามว่า หลวงพ่อทำไมทำอย่างนั้นละครับ มันสกปรก ท่านบอก ไม่เป็นไร ประเดี๋ยวเธอจะเห็นของดี ไอ้ของที่ออกมาไม่ใช่อุจจาระ เป็นไอ้ตะขาบตัวเมื่อกี้
ผลที่สุดก็เป็นความจริง เมื่อเขาถ่ายอุจจาระมาแล้ว ท่านก็บอกให้เอาไฟไปส่องดู ก็ปรากฏว่าเป็นโซ่เส้นเล็กๆ ผูกลวดหนามไว้เต็ม เอาลวดหนามพันเข้าไว้ นี่ตะขาบเขาทำด้วยโซ่พันไปด้วยลวดหนาม ในเมื่อเข้าไปในตัวแล้วมันก็บาดลำไส้ พุง อวัยวะต่างๆ ท่านบอกว่า ของอย่างนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในตัวแล้ว มันจะทำอันตรายเต็มที่ เพราะเขาทำเต็มที่ ถ้ามันขยายตัวเต็มที่เมื่อไหร่ อวัยวะภายในก็จะขาด เพราะมันทนต่อความถ่วงของเหล็ก หรือว่าทนต่อลวดหนามไม่ไหว
ก็เป็นอันว่าลาวคนนั้นก็ยอมรับ ก็บวช เมื่อหายดีเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ไปนิมนต์ พระครูรัตนาภิรมย์ มาเป็นอุปัชฌาย์ บวชให้ และลาวคนนั้น ก็เลิกจากการปฏิบัติอย่างนั้น เพราะอาศัยที่เขาฝึกอย่างนั้นมีสมาธิสูงอยู่แล้ว เมื่อเวลาเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อปานก็สอนให้เจริญพระกรรมฐาน รู้สึกว่าเขาทำได้ดีมาก ทำได้รวดเร็วมาก จนกระทั่งได้อภิญญา พรรษาเดียวนะเขาได้อภิญญา ๕ แต่ยังเป็นฌานโลกีย์ ทำอะไรต่ออะไรได้หมดทุกอย่าง เมื่อเขาทำได้แล้ว ฉันเองก็เข้าไปถามเขาว่า เสียดายความรู้เดิมไหม
เขาบอก ไม่เสียดาย แต่ว่าเสียดายเวลา เวลาที่ไปฝึกฝนความรู้เดิม ที่มันเป็นทางของบาป และ อกุศล ทำตนให้ตกไปในอบายภูมิ ถ้ารู้ว่าวิชาอย่างนี้มีเขาศึกษาเสียนานแล้ว แล้วเขาก็ได้อภิญญานานแล้ว เมื่อออกพรรษา เขาก็ขอลากลับ เพราะบ้านเขาอยู่จังหวัดอุบลราชธานี
เขาบอกว่าเขาจะไปสอนลูกศิษย์ลูกหาเขาปฏิบัติตามนี้บ้าง และก็เพื่อนของเขาอีกหลายคน ที่ยังใช้วิชาความรู้เดิม รับจ้างทำคนให้ตาย รับจ้างทำคนให้ป่วยไข้ไม่สบาย เขาจะไปโปรดพวกนั้น ให้เลิกละจากกรรมประเภทนั้น ให้กลับมาประพฤติปฏิบัติในสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
ก่อนที่เขาจะไป หลวงพ่อปานได้เรียกมาฝึกวิปัสสนาญาณ ๓ เดือน เมื่อท่านพอใจแล้วท่านก็ส่งไป ก็ปรากฏว่าพระองค์นั้นเป็นพระอภิญญา และมีวิปัสสนาญาณพอสมควร เมื่อไปจังหวัด อุบลราชธานี ก็ได้ไปสอนลูกศิษย์ลูกหา
ให้ได้อภิญญาสมาบัติกันมากมาย
เมื่อถึงเวลาที่ หลวงพ่อปานไหว้ครู วันเสาร์ ๕ เดือนไหนก็ตามถ้าข้างขึ้น ๕ คํ่า ตรงกับวันเสาร์ หรือวันเสาร์ ๕ หลวงพ่อปาน ท่านต้องไหว้ครูท่าน เขาก็พาลูกศิษย์ลูกหาของเขา สมัยนั้น ไอ้รถเรือมันก็ไม่ค่อยจะมี ต้องเดินกันมา ในระยะทางไกล จนกว่าจะถึงทางรถไฟรถยนต์
รถยนต์ก็หายาก ก็มีรถไฟเป็นส่วนมาก ต้องใช้เวลาตั้งเดือน ถึงจะมาถึงสำนักของอาจารย์ได้ เขาก็อุตส่าห์มากัน มากันในวันไหว้ครู รู้สึกมากันคราวละมาก ๆ ลูกศิษย์ของเขามีกี่คน เขาต้องพามาจนหมด เรียกว่าทุกคนต้องเก็บหอมรอมริบไว้ เพื่อวันเสาร์ ๕ เมื่อถึงวันเสาร์ ๕ ก็ต้องไหว้ครู ตามที่ครูบาอาจารย์กำหนดไว้ นี่รู้สึกว่าเคร่งครัดมาก
เป็นอันว่า วิชาหมอของท่าน ที่ท่านเรียนมานี่ เป็นประโยชน์มาก นอกจากจะรักษาคนไข้ให้หายแล้ว ยังได้ลูกศิษย์ลูกหาที่ดี ๆ สำเร็จอภิญญาสมาบัติก็มาก และเป็นนายช่าง เป็นอะไรต่ออะไรก็มี

9/2/60

ประวัติหลวงพ่อวัดดอนตัน อ.ท่าวังผา จ.น่าน


รวบรวมและเรียบเรียง
โดย.....อาทนีย์  ทองสถิตย์
หลวงพ่อวัดดอนตัน” อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน คนทางเหนือย่อมรู้จักท่านดี เพราะเครื่องรางของขลัง เหรียญ ผ้ายันต์ ของท่านดังมาก มีอานุภาพปกป้องคุ้มภัย ให้โชคให้ลาภดีสารพัด แม้กระทั่ง “วิทยุปักกิ่ง จีนแดง” เมื่อได้รู้กิตติศัพท์อานุภาพเหรียญ ผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตันเข้า ก็ได้นำไปกล่าวขวัญออกอากาศ ทั้งนี้เนื่องจากตอนที่พวกก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทางชายแดนจังหวัดน่าน ประมาณ ๒๐๐ คน ได้บุกเข้าโจมตีหน่วยงานของบริษัทอิตาเลียนไทย ที่ตำบลน้ำยาว อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ได้ก่อความสูญเสียทั้งชีวิตร่างกายของเจ้าหน้าที่และคนงานตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างอย่างหนัก “แต่รถและคนที่มีเหรียญและผ้ายันต์ของหลวงพ่อวัดดอนตัน ปลอดภัยไม่ได้รับอันตรายทั้งๆ ที่ถูกยิง

“พระครูเนกขัมมาภินันท์” สนั่นหล้า
จิตแก่กล้า เวทพุทธา อาคมขลัง
จารเวทมนต์ พ่นเสก เอก พลัง
     ปรากฏดัง เป็นที่รู้ สู่หมู่ชน
“ยันต์ธงชัย” ไกรเกรียง เป็นเที่ยงแท้
“สามแหลม” แผ่ป้องผองภัย ให้ฉงน
“เมฆบังวัน” นั้นแกร่งกล้า มหามนต์
บันดาลดล “ดอนตัน-น่าน” ระบือนาม ฯ

ประวัติหลวงพ่อดอนตัน
พระครูเนกขัมมาภินันท์ หรือ หลวงพ่อวัดดอนตัน มีนามเดิมว่า บุญทา ใจเฉลียว เกิดวันที่ 5 มกราคม 2439 ณ.บ้านดอนตัน ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในวัยเยาว์ท่านได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากเป็นศิษย์วัดดอนตัน เพื่อเรียนหนังสือ อักษรธรรมล้านนา และสามารถศึกษาได้อย่างแตกฉาน เมื่ออายุครบ16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 ณ.วัดดอนตัน โดย พระเตวินต๊ะ วัดสบหนอง ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา เป็นพระผู้ให้บรรพชา และเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า สามเณร สุทธวงศ์ ใจเฉลียว เป็นสามเณรจนอายุครบบวช
เมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ.พัทธสีมาวัดดอนตัน ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยพระเตวินต๊ะ วัดสบหนอง ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุปทะ วัดตาลชุม ต.ตาลชุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพรมทพ วัดอัมพวัน ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2460 เมื่ออุปสมบทแล้วมีชื่อว่า พระสุทธวงศ์ ฉายา พุทธวํโส ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมจนได้วุฒินักธรรมโทและสนใจศึกษาฝึกฝน ด้านพุทธาคม เวทมนต์คาถาและโหราศาสตร์อีกด้วยต่อมาท่านได้อธิษฐาน สมาทานออกธุดงค์ เพื่อฝึกจิต สมาธิ ยกระดับภูมิจิตภูมิธรรม พบปะแลกเปลี่ยนเคล็ดวิชาฝากตัวเป็นศิษย์กับครูอาจารย์หลายสำนัก ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ท่านเคยผ่าน พิธีอาบแช่น้ำว่าน (หรือ“อาบขาง” ในภาษาล้านนา) มากถึง 7 หม้อ 7 อาจารย์ ซึ่งเป็นเคล็ดวิชาด้าน คงกระพันชาตรี ที่สืบทอดมีมาแต่โบราณกาล ท่านได้มุ่งมั่นฝึกฝน จนแตกฉานในด้าน เวท พุทธาคม อักขระเลขยันต์ การลงตระกรุดแบบต่างๆ ซึ่งท่านได้นำมาประยุกต์ใช้ และสงเคราะห์แก่สาธุชนทั่วไป ด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้งท่านปกครองวัดดอนตัน นานถึง 61 ปี ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นพระอุปัชฌาย์จนถึงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (รูปแรกของ คณะสงฆ์ จังหวัดน่าน) ราชทินนามที่ “พระครูเนกขัมมาภินันท์”
ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2523 เวลา 20.25 น. ณ.วัดดอนตัน สิริรวมอายุได้ 85 ปี 65 พรรษา
วัตถุ มงคลของหลวงพ่อวัดดอนตัน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทั้งใกล้ไกลรวมถึง ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องฯ ที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางได้แก่ “เหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อวัดดอนตัน รุ่นแรก ปี 2514” เฉพาะพระเครื่องฯ ที่จัดสร้างรวมแล้วเกือบ 30 รุ่น (หรือ ประมาณ 45 เนื้อหา/ทรงพิมพ์) นอกจากนี้ยังมีพวกเครื่องราง เช่น ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ แบบต่างๆ ตระกรุดโทน ตระกรุดร้อยแปด ตระกรุดพับ ตระกรุดชุด ชนิดต่างๆ ลูกอมเทียนชัยฯเป็นต้น. พระเครื่องและเครื่องรางฯ ของหลวงพ่อวัดดอนตัน มีรูปแบบที่งดงาม คงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเชิงพุทธศิลป์ และมีพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์มากด้วยประสบการณ์จนเป็นที่เล่าขานกันสืบมา แต่ด้วยวัตถุมงคลบางชนิด มีจำนวนการสร้างน้อย ณ.ปัจจุบันจึงหาดูได้ยาก.ด้วยเมตตาธรรม บารมีธรรม วัตถุมงคลต่างๆ ที่หลวงพ่อวัดดอนตันได้เมตตาปลุกเสก ล้วนแล้วได้รับความนิยมเลื่อมใส ศรัทธา ก็ด้วยบารมี เกียรติคุณทั้งด้านวัตรปฏิบัติตลอดจนเวทวิทยาพุทธาคม ของ “หลวงพ่อวัดดอนตัน” สมกับเป็น “สุดยอดพระเถราจารย์ของเมืองน่านและล้านนาตะวันออก ” โดยแท้ .....พระเถราคณานุสรณ์


เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน รุ่นอยู่คง พ.ศ. 2517
เหรียญทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. มีหูในตัว หลังเหรียญประทับด้วยยันต์ครูตาราง 9ช่อง สร้างโดยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตการทางแพร่ ปี 2517 เหรียญอยู่คง เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ด้านความแคล้วคลาด คงกระพัน อีกเหรียญหนึ่งในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงพ่อ เพราะในช่วง พ.ศ.2517 พื้นที่ใน จังหวัดน่าน เป็นเขตยุทธการกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค) และเหรียญอยู่คงได้สร้างประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด-คงกระพันในสนามรบสมรภูมิเลือด จนเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ทำให้เหรียญรุ่น"อยู่คง" เป็นที่นิยมของนักนิยมพระเครื่องในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงและยอมรับในด้านประสบการณ์คงกระพันสมกับชื่อรุ่น"อยู่คง" เหรียญรุ่นนี้สร้างประมาณ 1,000 องค์ หลวงพ่อดอนตันปลุกเสกเดี่ยว ณ อุโบสถวัดดอนตัน จังหวัดน่าน


เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน รุ่นงาใหญ่ พ.ศ.2518
เหรียญนี้เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ควรค่าแก่การหามาไว้บูชา เนื่องจากในการเข้าพิธีพุทธาภิเษกนั้นเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ เป็การเข้าพิธีพุทธาพิเศกพร้อมกับพระเเก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวันวิสาขบุชาผ้ายันต์ธงชัยและเหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน พระอุโบสถ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม วันที่ 24 พฤษภาคม 2518 เวลา 7.30 น.

พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญพระพุทธมนต์พิธีพุทธาภิเษก ประกอบด้วย
1.พระพรหมคุณาภรณ์ เจ้าคณะภาค 9วัดสะเกศ (ปัจจุบันคือสมเด็จพระพุทธาจารย์)
2.พระธรรมปิฎก (สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม) ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
3.พระธรรมคุณาภรณ์ วัดอรุณราชวรารามปัจจุบันมรณภาพแล้ว
4.พระเทพโสภณ เจ้าคณะภาค14 วัดพระเชตุพลปัจจุบันมรณภาพแล้ว
5.พระราชปัญญาสุทธี เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
6.พระราชวิมลมุนี เจ้าคระอำเภอลาดกระบัง วัดพระเชตุพล ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
7.พระทัการคณิสร วัดพระเชตุพล
8.พระวิเชียรธรรมคุณาธรแลขานุการเจ้าคณะภาค14 วัดพระเชตุพน
9.พระอุดรคณารักษ์ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
พระอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีฯ ครั้งสำคัญนี้มีหลายสิบองค์ อาทิเช่น สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักวรรดิฯจุดเทียนชัย หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.  หลวงพ่อเมี้ยน วัดพระเชตุพน กทม.  หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี  พระอาจารย์วีระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม. 6)หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี  หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี  หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก จังหวัดระยอง  หลวงพ่อทองอยู่วัดใหม่หนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร  หลวงพ่ออุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี  หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม  หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี  หลวงพ่อจ้วน วัดพระพุทธบาทเขารูปช้าง จังหวัดเพชรบุรี  หลวงพ่อมงคล วัดศรีมงคล(ก๋ง) อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านน่าน  พระอาจารย์พยนต์ วัดเกตุมดีศรีวราราม จังหวัดสมุทรสาคร  พระอาจารย์นคร วัดเขาอิตอสุคโต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พระอาจารย์กัสสปมุณี สำนักปิปพลิวนาราม ระยอง ฯลฯ
ที่สำคัญยังมีพระอาจารย์ที่ลงแผ่นเงิน แผ่นทองแดง และนั่งปรกให้พิเศษอีก อาทิเช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม  หลวงพ่อวัดดอนตัน วัดดอนตัน จังหวัดน่าน  หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยานิมิตร กทม.  พระอาจารย์ประเสริฐ วัดพระเชตุพน กทม.  พระอาจารย์มหาบรรจง วัดพระเชตุพน กทม.  พระอาจารย์เขียน วัดพระเชตุพน กทม.  หลวงพ่อจันทร์ วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี  หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี  หลวงพ่ออมฤต วัดเวฬุวราราม จังหวัเพชรบุรี
เมื่อวันที่16 มีนาคม 2519 ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ และพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ เสด็จฯ ตรวจราชการ  ณ กองทหารชายแดน พัน ร.213 อำเภอปัว จังหวัดน่าน (ปัจจุบันรื้อเป็นเทศบาลตำบลปัว) หลวงพ่อวัดดอนตันได้จัดเหรียญและผ้ายันต์ รุ่นพญาครุฑแบกงาช้างดำ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายจำนวน 300 ชุด เพื่อพระราชทานแก่ ทหารตำรวจ  (ที่มา : http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=670122&storeNo=6572)


เหรียญหลวงพ่อดอนตัน รุ่นยุทธภูมิตาพระยา พ.ศ. 2520
เหรียญหลวงพ่อดอนตัน รุ่นยุทธภูมิตาพระยา ทองแดงรมดำ แทบไม่ค่อยเห็นในสนาม รุ่นนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อทหารเสร็จศึกจากห้วยโก๋นและต้องไปรบที่ตาพระยา เลยของครูบาท่านทำเหรียญขึ้นเพื่อแจกให้กับทหาร “ทหารเสือนวมินทราชินี" ที่ไปปฏิบัติภาระกิจด้านการทหารในพื้นที่จังหวัดน่านในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2518-2519
เมื่อทหารจากค่ายนวมินทราชินี ในนามกองกำลังทหารจากค่ายนวมินทราชินี หรือรู้จักในนามทหารเสือนวมินทราชินี" สังกัดพัน3 ร.21 รอ. ซึ่งได้รับมอบหมายไปปฏิบัติภาระกิจด้านการทหารในพื้นที่จังหวัดน่านเสร็จศึกจากห้วยโก๋น (ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2518-2519) และต้องไปรบที่ตาพระยา ใน พ.ศ.2520 หน่วยพัน 3 ร.21 รอ. ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติภารกิจที่ อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบัน อำเภอตาพระยา อยู่ในเขตจังหวัดสระแก้ว) ด้วยเหตุนี้ผู้นำหน่วยพัน 3 ร.21 รอ. ในขณะนั้นได้เข้าพบและขออนุญาตหลวงพ่อวัดดอนตัน เพื่อจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อวัดดอนตัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำไปมอบให้กับทหารหาญที่เป็นกำลังพลของพัน 3 ร.21รอ. เพื่อมีไว้สักการะบูชาและเพื่อสร้างขวัญกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ และเป็นที่ระลึกในการย้ายจาก จังหวัดน่าน ไปประจำการในท้องที่ อำเภอตาพระยา จึงเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า "รุ่นยุทธภูมิตาพระยา" ตลอดระยะเวลาที่กำลังพลของหน่วย พัน 3 ร.21รอ. ปฏิบัติหน้าที่ด้านยุทธการในเขตพื้นที่จังหวัดน่านในสมรภูมิรบที่มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงนั้น บรรดาทหารหาญต่างได้รับรู้ และได้ประจักษ์ในอิทธิบารมีของวัตถุมงคลของหลวงพ่อดอนตันหลายครั้ง และหลายสถานการณ์ จนเกิดความศรัทธา และเลื่อมใสในตัวของหลวงพ่อวัดดอนตัน และต่างสนใจเสาะหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อวัดดอนตันเผื่อมีไว้บูชาติดตัว


เหรียญรูปเหมือนกลมเล็ก รุ่นธรรมจักร พ.ศ.2522
เหรียญรูปเหมือนกลมเล็ก รุ่นธรรมจักร 2522 เป็นการดำเนินการจัดสร้างโดยพระอาจารย์ไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก หลวงพ่อดอนตันได้เมตตาอนุญาต และอธิษฐานจิตปลุกเสกให้ ณ อุโบสถวัดดอนตัน แล้วมอบให้อาจารย์ไพรินทร์ เพื่อไปมอบให้เจ้าหน้าที่ทหารหาญที่ปฏิบัติหน้าที่ ที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.9 ซม. พิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันเสาร์ ที่ 20 มกราคม 2522 โดยหลวงพ่อดอนตัน เป็นประธานจุดเทียนชัย และผู้ดับเทียนชัย คือ ท่านครูบาก๋ง



ที่มา : http://www.dohjournal.com